เทคนิค การจัดเก็บเอกสาร และการจัดแฟ้มเอกสาร

ความสำเร็จขององค์กรทุกประเภท นอกจากขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และงานบริการรวมไปถึงความรู้ความสามารถในการบริหารของผู้นำองค์กรแล้ว การออกแบบตกแต่งภายในการจัดตำแหน่งโต๊ะทำงาน การจัดระบบระเบียบภายในองค์กรก็เป็นส่วนประกอบที่ต้องให้ความสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานมีความคล่องตัวและหากเป็นงานด้านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจัดตู้เก็บเอกสารยิ่งต้องให้ความสำคั

ภาพประกอบจาก pinteres

เทคนิค การจัดเก็บเอกสาร และการจัดแฟ้มเอกสาร

          งานเอกสาร เป็นส่วนที่มีความสำคัญกับองค์กรทุกประเภทหรือแม้แต่ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่เป็นธุรกิจเจ้าของคนเดียวก็ยังต้องให้ความสำคัญกับงานจัดเก็บเอกสารไม่น้อยไปกว่าการตกแต่งสำนักงานและการเลือกซื้อโต๊ะทำงานหรืออุปกรณ์อื่น ๆการจัดเอกสารจัดแฟ้มเอกสารให้ค้นหาง่าย และสวยงาม มีหลัก ดังนี้

ภาพประกอบจาก pinteres

1. มีเป้าหมายและรู้ความความสำคัญของการจัดเก็บเอกสาร ได้แก่

        การจัดเก็บเอกสารเพื่อให้งานเอกสาร และการจัดเก็บแฟ้มเอกสารมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

        การจัดเก็บเอกสาร เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการค้นหา

        เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาเอกสารจากแฟ้มเอกสาร

        การจัดเก็บเอกสารทำให้สำนักงานหรือออฟฟิศมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และยังสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มาติดต่องานหรือใช้บริการได้เป็นอย่างดี

        การจัดเก็บเอกสารหรือแฟ้มเอกสาร ทำให้ง่ายต่อการสังเกต เมื่อมีเอกสารสูญหายไป

        การจัดเก็บเอกสารหรือแฟ้มเอกสาร เป็นการรวบรวมเอกสารที่มีความสัมพันธ์กันไว้เป็นแหล่งเดียวกัน

2. ขั้นตอนการจัดเก็บเอกสาร มีดังนี้

        ก่อนจัดเก็บเอกสาร หรือจัดแฟ้มเอกสาร ควรเริ่มสำรวจเอกสาร โดยการนำเอกสารปีปัจจุบันมาตรวจสอบว่า มีเรื่องอะไรบ้าง หากเก็บใส่แฟ้มไว้ในตู้เอกสารหรือโต๊ะทำงานควรทยอยนำออกมาทีละแฟ้ม

        ในการจัดเก็บเอกสารหรือจัดเอกสารลงแฟ้ม ไม่ควรนำเอกสารออกมามาก ๆ เพราะอาจสับสนปะปนกันจนทำให้ยากต่อการจัดเก็บหริอคัดแยก

        เทคนิคที่ช่วยให้คัดแยกเอกสารได้ง่าย เมื่อนำเอกสารออกมาเพื่อเตรียมคัดแยก ให้ใส่รหัสหมวดใหญ่บนหน้าแรกของเอกสารที่มุมขวามือด้านบนด้วยดินสอไว้ก่อน

        ก่อนจัดเก็บ นำเอกสารที่ใส่รหัสไว้แล้ว มาคัดแยกออกตามรหัสหมวดใหญ่แต่ละหมวดจากนั้นนำมาให้รหัสหมวดย่อยหรือรหัสชื่อแฟ้มเอกสารบนหน้าแรกของเอกสารที่มุมขวามือด้านบนถัดลงมาจากรหัสหมวดใหญ่ด้วยดินสอ

        นำเอกสารแต่ละหมวดซึ่งเป็นใหญ่มาเรียงลำดับ เดือนที่เกิดก่อนลงไปหาเดือนที่เกิดทีหลังสุดพร้อมกันก็เรียงลำดับวันที่ของเอกสารจากเลขน้อยไปหาเลขมากสำหรับหลักในการตั้งหมวดหมู่มีเทคนิค ดังนี้

          - ควรหลีกเลี่ยงการตั้งหมวดหมู่ที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน

          - ชื่อหมวดหมู่ควรสั้นและเป็นที่นิยม

          - ชื่อหมวดหมู่ไม่ควรมีความหมายกว้างหรือแคบเกินไป

          - ควรมีหมวดเบ็ดเตล็ดเป็นหมวดสุดท้าย

        ตัวอย่างหมวดหมู่การจัดเก็บเอกสารภายในองค์กรต่าง ๆ มีดังนี้

         - หมวดการเงิน หรืองบประมาณ

         - หนังสือโต้ตอบทั่วไป (หนังสือรับ – ส่ง)

         - บริหารทั่วไป

         - บริหารบุคคล

         - วาระการประชุม การประชุมทั่วไป

         - พัสดุและสิ่งก่อสร้าง

         - รายงานทั่วไป

         - การตลาด

         - การผลิต/บริการ

         - เบ็ดเตล็ด

        ลงทะเบียนหนังสือเก็บ โดยนำเอกสารแต่ละหมวดใหญ่และแต่ละเดือนมาลงทะเบียน

        นำเอกสารแต่ละหมวดใหญ่มาคัดแยกตามรหัสหมวดย่อยที่ระบุไว้

        นำเอกสารแต่ละหมวดย่อยที่ได้มาเรียงลำดับเดือนที่เกิดก่อนขึ้นมาหาเดือนที่เกิดทีหลังสุดพร้อมกับ

        เรียงลำดับวันที่ของเอกสารจากเลขน้อยขึ้นมาหาเลขมาก

        จัดเก็บเอกสารเข้าแฟ้มตามรหัสหมวดย่อยหรือรหัสชื่อแฟ้ม ในกรณีที่แฟ้มนั้นมีเอกสารอยู่บ้างแล้วจะนำเอกสารใหม่เก็บเพิ่มเติมก็จะต้องนำเอกสารทั้งหมดทั้งเอกสารใหม่และเอกสารเก่าที่มีอยู่แล้วในแฟ้มนั้นมาเรียงลำดับเดือนของเอกสารที่เกิดก่อนขึ้นมาหาเดือนที่เกิดทีหลังสุดพร้อมกับเรียงลำดับวันที่ของเอกสารจากเลขน้อยขึ้นมาหาเลขมาก

        จัดเก็บแฟ้มเอกสารเข้าใส่ตู้ หรือหากมีเอกสารไม่มาก อาจเก็บไว้ในโต๊ะทำงานแบบมีลิ้นชัก หรือมีตู้บานเปิดอยู่ด้านล่าง โดยเรียงลำดับหมายเลขแฟ้มตามที่กำหนด

        จัดทำบัญชีคุมแฟ้มเอกสาร

ภาพประกอบจาก pinteres

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง และข้อปฏิบัติในการจัดเก็บเอกสาร

       1. ไม่ควรเก็บหนังสือปนกับเอกสาร

       2. ใส่รหัสเอกสารบนหัวกระดาษเสมอ เพื่อป้องกันการแยกประเภทเอกสารผิดการนำออกมาใช้ผิด

       3. ดูเนื้อหาของเอกสารประกอบทุกครั้งก่อนจัดเก็บ เพื่อป้องกันการจัดเก็บเอกสารที่ผิดพลาด

       4. กรณีเป็นเอกสารที่สำคัญ ควรแยกไว้หน้าสุด เพื่อสะดวกและรวดเร็วในการค้นหา

       5. ควรมีการบำรุงรักษาเอกสารที่จะจัดเก็บให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ

       6. ควรทบทวนระบบการจัดเก็บเอกสารอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ประโยชน์ของการจัดเก็บเอกสาร

        1. ทำให้ภายในองค์กรมีมาตรฐานเดียวกันในการจัดเก็บเอกสาร

        2. ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าใจและเลือกใช้แฟ้มเอกสารได้อย่างถูกต้อง

        3. การจัดเก็บเอกสารแฟ้มเอกสารในตู้เอกสาร โต๊ะทำงาน หรือชั้นวางเอกสารช่วยประหยัดพื้นที่และ ลดความซ้ำซ้อนในการเก็บเอกสาร

        4. มีแหล่งเก็บเอกสารที่ปลอดภัยและถาวร ไม่เกิดการชำรุดเสียหาย

        5. สะดวกและประหยัดเวลาทำให้การค้นหา

        6. ทำให้เกิดความเรียบร้อยและสะอาดตา


           การจัดเก็บเอกสาร และการจัดแฟ้มเอกสารขององค์กรต่าง ๆ หากมีระบบการจัดเก็บที่มีมาตรฐานประกอบกับการมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บ ค้นหา มีโต๊ะทำงานสำหรับทำหน้าที่อย่างเป็นสัดส่วนไม่ว่าจะเป็นการเก็บเอกสารในโต๊ะทำงาน มีลิ้นชัก กรณีเป็นองค์กรเล็ก ๆหรือจัดเก็บเอกสารในตู้เอกสารสำหรับองค์กรที่มีหลายแผนกเป็นองค์กรขนาดใหญ่สามารถบ่งบอกมาตรฐานและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และการทำงานได้เป็นอย่างดี

https://www.rockyfurniture.com/article/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84_%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3

I BUILT MY SITE FOR FREE USING